Thai labor law news
ข่าวกฎหมายแรงงานไทย
วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม ของปี ลูกจ้างหรือพนักงานทุกคนต้องได้หยุดงาน
กฎหมายแรงงานไทย เรื่องการมาทำงานใน “วันหยุด” นั่นหมายถึง “วันแรงงานแห่งชาติ” (National Labor Day) 1 พ.ค. แรงงานทุกคนต้องได้หยุดงานยกเว้น “ข้าราชการ” เพราะไม่ได้ถูกนับเป็น "แรงงาน" ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
กรณีลูกจ้างหรือพนักงานมาทำงาน นายจ้างต้องจ่าย “ค่าจ้าง/ค่าแรง” เพิ่ม 1 แรง (1 เท่าของค่าจ้าง/ค่าแรงต่อวัน) ทั้งพนักงานรายวัน และพนักงานรายเดือน ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด จ่ายเพิ่ม 3 เท่า (3 เท่า ของชั่วโมงมาทำงานในวันหยุด) โดยที่ไม่สามารถเลื่อนให้ “ลูกจ้าง” ไปหยุดวันอื่นได้
“ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างหรือพนักงานมาทำงานได้ค่าจ้างวันละ 300 บาท นายจ้างต้องจัดให้หยุดวันแรงงานโดยไม่ต้องมาทำงาน หากนายจ้างให้มาทำงานในวันแรงงานจะต้องจ่าย 1 เท่า คือ 300 บาท เท่ากับว่าถึงเวลาจ่ายค่าจ้างต้องได้ 600 บาท"
และหากนายจ้างให้ลูกจ้างหรือพนักงานทำงานนอกเหนือหรือเกินเวลาทำงาน หรือการทำงานล่วงเวลา (OT: Overtime) ในวันแรงงานซึ่งตามกฎหมายเป็นวันหยุดตามประเพณี นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ (มาตรา 63)
“จากตัวอย่างเดิม ลูกจ้างหรือพนักงานมาทำงานได้วันละ 300 บาท หากนายจ้างให้มาทำงานนอกเวลางานปกติ หรือทำงานล่วงเวลาจำนวน 2 ชั่วโมง ก็ต้องจ่าย 3 เท่าของค่าจ้าง/ค่าแรงรายชั่วโมง ซึ่งต้องนำ 300 บาท มาหาร 8 ชั่วโมงอันเป็นเวลาทำงานปกติ จะได้ชั่วโมงละ 37.50 บาท คูณ 3 เท่า คูณ ชั่วโมงทำล่วงเวลา 2 ชั่วโมง ในวันแรงงาน จะต้องได้เงินล่วงเวลา 225 บาท และจากค่าจ้าง/ค่าแรงรายวัน 300 บาท ดังนั้นในวันแรงงานแห่งชาตินี้ ลูกค้าหรือพนักงาน ได้ค่าจ้างและค่าล่วงเวลาเพิ่ม จำนวนเงิน 525 บาท"
กฎหมายบังคับ ให้ต้องจัด “วันแรงงานแห่งชาติ” เป็นวันหยุดตามประเพณี ดังนั้นนายจ้างไม่จัดให้เป็นวันหยุดตามประเพณ๊ไม่ได้ หากไม่จัดให้เป็นวันหยุดตามประเพณี ตามมาตรา 146 กำหนดให้นายจ้างผู้ซึ่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 ต้องระวางโทษทางอาญา ซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานสามารถร้องต่อแรงงาน โดยไม่เปิดเผยชื่อนามสกุลของผู้ร้องได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่
ข้อมูลอ้างอิงกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน: www.labour.go.th